วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สหกรณ์การประมง

สหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นในหมู่ชาวประมงเพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการประกอบอาชีพ ซึ่งชาวประมงแต่ละคน ไม่สามารถแก้ไขให้ลุล่วงไปได้ตามลำพังบุคคลเหล่านี้จึงรวมตัวกันโดยยึดหลักการช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ประวัติความเป็นมา
สหกรณ์ประมงแห่งแรกได้จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2492 ชื่อว่า "สหกรณ์ประมงพิษณุโลก จำกัด" ในท้องที่ ลำคลองกระบังโป่งนก อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก เป็นสหกรณ์ประมงประเภทน้ำจืด มีสมาชิกแรกตั้งจำนวน 54 คน สหกรณ์ได้ดำเนินการจัดสรรที่ทำกินให้สมาชิกช่วยเหลือสมาชิกในด้านการจำหน่าย การแปรรูปสัตว์น้ำ ขออนุญาตสัมปทานให้สมาชิกจับสัตว์น้ำได้โดยสะดวก แนะนำเทคนิคการจับสัตว์น้ำ และละเว้นการจับสัตว์น้ำที่ยังไม่ได้ขนาดเพื่อสงวนพันธุ์สัตว์น้ำ การดำเนินงานเป็นไปด้วยดีจนถึงปี พ.ศ. 2513 ทางราชการมีนโยบายให้คลองต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักรเป็นที่สาธารณะ การจับสัตว์น้ำเป็นไปโดยเสรี การดำเนินงานสหกรณ์จึงไม่ได้ผลเท่าที่ควร ปัจจุบันสหกรณ์นี้ได้ควบเข้ากับ "สหกรณ์การเกษตรพรหมพิราม จำกัด"
 
          สำหรับการจัดตั้งสหกรณ์ประมงประเภทน้ำเค็มได้เริ่มจัดตั้งครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2495 ชื่อว่า "สหกรณ์ประมงกลาง จำกัด" ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหาทุนจำหน่ายสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์แปรรูป จัดหาวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือประมง
วัตถุประสงค์ของสหกรณ์ประมง  
 
          1. รวบรวมสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำจากสมาชิกมาจัดการขายหรือแปรรูปออกขายเพื่อให้ได้ราคาดี
          2. จัดหาวัสดุสิ่งของ รวมทั้งบริการที่ใช้ในการประมง และสิ่งของจำเป็นอื่น ๆ ที่สมาชิกต้องการมาจำหน่าย 
          3. ให้เงินกู้แก่สมาชิก
          4. รับฝากเงินจากสมาชิก
          5. เผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและธุรกิจเกี่ยวกับการประมง
          6. ให้การสงเคราะห์ตามควรแก่สมาชิกและครอบครัวที่ประสบภัยพิบัติในการประกอบอาชีพ
 ทำไมต้องจัดตั้งสหกรณ์ประมง?
          ชาวประมงมักจะประสบปัญหาต่าง ๆ ดังนี้               1. ขาดแคลนเงินทุน การประกอบอาชีพทางการประมงโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำประมงทะเลต้องลงทุนสูง มีการเสี่ยงต่อการลงทุนมากกว่าการประกอบอาชีพการเกษตรอื่นๆ ชาวประมงส่วนใหญ่จะกู้เงินจากนายทุนซึ่งเป็นเจ้าของแพปลาในท้องถิ่นมาเป็นทุนดำเนินงาน โดยมีข้อผูกพันที่จะต้องขายสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำให้เจ้าของแพปลานั้นๆ ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าจะต้องถูกกดราคารับซื้อเป็นอย่างมาก
               2. ขาดเทคนิคในการเพาะเลี้ยงสัตว์ ปัจจุบันปริมาณความต้องการสัตว์น้ำเพื่อบริโภคในประเทศและส่งจำหน่ายต่างประเทศ มีมากขึ้นเป็นผลให้ปริมาณสัตว์น้ำที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเพิ่มจำนวนไม่ทันกับความต้องการ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ชาวประมงจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม เพื่อให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้น
               3. วัสดุอุปกรณ์การประมงมีราคาสูงมาก รวมทั้งน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ในการออกเรือจับปลามีราคาสูงด้วย        
               4. ขาดความรู้ในด้านการจัดการ ชาวประมงส่วนใหญ่ขาดความรู้ในด้านการจัดการ การจำหน่าย ตลอดจนการหาตลาด เป็นต้น                
       จะเห็นได้ว่าถ้านำหลักการและวิธีการดำเนินงานของสหกรณ์มาใช้สหกรณ์ประมงจะสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ข้างต้นให้สำเร็จลุล่วงไปได้ และจะช่วยให้ชาวประมงมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีรายได้ทัดเทียมผู้ประกอบอาชีพอื่นๆ
สหกรณ์ประมงจะช่วยสมาชิกได้อย่างไร?
              สหกรณ์ประมงจะจัดบริการต่างๆ ให้สมาชิก ดังนี้
               1. ธุรกิจการขายหรือการรวบรวมผลผลิตให้แก่สมาชิก ทำให้มีอำนาจในการต่อรองมากขึ้น ผลผลิตจะขายได้ราคาสูงขึ้น
               2. ธุรกิจการซื้อ หรือการจัดหาวัสดุอุปกรณ์และสิ่งของจำเป็นมาจำหน่ายแก่สมาชิก  โดยจะสำรวจความต้องการของสมาชิกก่อนแล้วสหกรณ์จะเป็นผู้จัดหามาจำหน่ายต่อไป ซึ่งจะทำให้สหกรณ์สามารถซื้อวัสดุในราคาที่ถูกกว่าที่สมาชิกแต่ละคนจะซื้อเอง
               3. ธุรกิจการธนกิจ
                       (1) การให้กู้เงิน สหกรณ์จะจัดหาเงินกู้ที่มีอัตราดอกเบี้ยที่เป็นธรรมมาให้สมาชิกกู้ไปลงทุนทำการประมง โดยสหกรณ์จะพิจารณาจากแผนการดำเนินงาน หรือแผนการใช้เงินกู้ของสมาชิกประกอบการให้เงินกู้
                       (2) การรับเงินฝาก เพื่อเป็นการส่งเสริมให้สมาชิกรู้จักและเห็นคุณประโยชน์ของการออมทรัพย์ และเพื่อให้เป็นการระดมทุนในสหกรณ์สหกรณ์จะรับฝากเงินจากสมาชิก 2 ประเภท คือ เงินฝากออมทรัพย์ และเงินฝากประจำ โดยสหกรณ์จ่ายดอกเบี้ยให้ในอัตราเดียวกับธนาคารพาณิชย์
               4. ธุรกิจการบริการ สหกรณ์ประมงที่มีทุนดำเนินงานมากอาจจัดให้มีธุรกิจการบริการแก่สมาชิก เช่น
การจัดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่สมาชิก และเพื่อให้สหกรณ์ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับสมาชิกให้มากที่สุด
               5. ธุรกิจการส่งเสริมการประกอบอาชีพ สหกรณ์อาจจะจัดจ้างเจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญด้านการประมง หรืออาจขอความช่วยเหลือจากหน่วยราชการอื่นในการให้การศึกษา แนะนำ ส่งเสริมให้สมาชิกมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องการประมงตามหลักวิชาการแผนใหม่ ตลอดจนให้มีความรู้ในด้านการวางแผนการประกอบอาชีพการประมง ให้สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและปริมาณตรงกับความต้องการของตลาดอีกด้วย
               6. ธุรกิจการให้การศึกษาอบรม สหกรณ์จะจัดให้มีการศึกษาอบรมแก่สมาชิก คณะกรรมการดำเนินการ ผู้จัดการ ตลอดจนเจ้าหน้าที่สหกรณ์อยู่เสมอเพื่อจะช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ทราบถึงสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละบุคคลตามหลักวิธีการสหกรณ์ ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ประสบผลสำเร็จได้ด้วยดีและถูกต้อง
 
          แต่อย่างไรก็ตาม สหกรณ์จะช่วยสมาชิกได้ก็ต่อเมื่อสมาชิกมาใช้บริการและอุดหนุนสหกรณ์ด้วยความภักดีเท่านั้น
สหกรณ์ประมงดำเนินงานอย่างไร

               (1)  เมื่อตั้งสหกรณ์ประมงขึ้นแล้ว สมาชิกจะเลือกตัวแทนให้บริหารงานในสหกรณ์ ตัวแทนสมาชิกนี้เรียกว่า คณะกรรมการดำเนินการ มีจำนวน 7-15 คน แล้วแต่จะกำหนดไว้ในข้อบังคับของสหกรณ์ 
               (2) คณะกรรมการดำเนินการจะทำหน้าที่บริหารกิจการสหกรณ์ โดยจะประชุมกันอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้งเพื่อร่วมกันกำหนดนโยบายการทำงานแล้วมอบให้ “ฝ่ายจัดการ” ซึ่งเป็นพนักงานที่สหกรณ์จ้างมาปฏิบัติงานอาจจะประกอบด้วยผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ สมุห์บัญชี เจ้าหน้าที่การเงิน เจ้าหน้าที่ธุรกิจ ฯลฯ การจะพิจารณา จัดจ้างพนักงานสหกรณ์จำนวนมากหรือน้อยขึ้นอยู่ที่ปริมาณธุรกิจและฐานะการเงินของสหกรณ์
ทุนดำเนินงานของสหกรณ์
 
              1. เงินค่าหุ้น
               2. เงินรับฝากจากสมาชิก
               3. ทุนสำรองและทุนสะสมอื่นๆ
               4. เงินกู้ยืม
               5. เงินอุดหนุนหรือทรัพย์สินที่ได้รับบริจาค
 
 
 
 
 
 
 
 

สหกรณ์การเกษตร

สหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นในหมู่ผู้มีอาชีพทางการเกษตรรวมตัวกันจัดตั้งขึ้น และจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลต่อนายทะเบียนสหกรณ์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สมาชิกดำเนินกิจกรรมร่วมกันและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อแก้ไขความเดือดร้อนในการประกอบอาชีพของสมาชิก และช่วยยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของสมาชิกให้ดีขึ้น
ประวัติความเป็นมา
สหกรณ์การเกษตรแห่งแรกได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2459 ชื่อว่า “สหกรณ์วัดจันทร์" ในจังหวัดพิษณุโลก เป็นสหกรณ์การเกษตรชนิดไม่จำกัด มีขนาดเล็กในระดับหมู่บ้านตั้งขึ้นในหมู่เกษตรกรที่มีรายได้ต่ำและมีหนี้สินมาก มีสมาชิกแรกตั้งจำนวน 16 คน มีทุนดำเนินงานจำนวน 3,080 บาท จากค่าธรรมเนียมแรกเข้า 80 บาท และเป็นทุนจากการกู้แบงค์สยามกัมมาจล (ธนาคารไทยพาณิชย์ในปัจจุบัน) 3,000 บาท
วัตถุประสงค์ของสหกรณ์การเกษตร   
สหกรณ์การเกษตรดำเนินธุรกิจแบบอเนกประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกดำเนินธุรกิจร่วมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และช่วยเหลือส่วนรวม โดยใช้หลักคุณธรรมและจริยธรรมอันดีงามตามพื้นฐานของมนุษย์ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สมาชิกและส่วนรวม ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของสหกรณ์
ทำไมต้องจัดตั้งสหกรณ์การเกษตร
เนื่องจากในการประกอบอาชีพของเกษตรกร มักประสบปัญหาต่างๆ ที่สำคัญๆ ดังนี้                4. ปัญหาการตลาด เกษตรกรถูกเอารัดเอาเปรียบในเรื่องการชั่ง ตวง วัด และมีความจำเป็นต้องจำหน่ายผลผลิตตามฤดูการ เนื่องจากไม่มีที่เก็บรักษาผลผลิต จึงถูกกดราคาจากพ่อค้าเป็นเหตุให้ไม่มีรายได้เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัว            สหกรณ์การเกษตรจะช่วยท่านได้อย่างไร ?
จากปัญหาที่เกษตรกรประสบอยู่ทั่วไป ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น เป็นเรื่องยากที่เกษตรกรแต่ละคน จะแก้ปัญหาได้สำเร็จตามลำพังตนเอง หนทางที่จะสำเร็จได้ โดยเกษตรกรจะต้องร่วมมือกันแก้ปัญหา โดยการรวมกลุ่มกันเป็นสหกรณ์และจดทะเบียนให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 ทั้งนี้เพราะสหกรณ์สามารถช่วยแก้ปัญหาด้านต่างๆ ได้ดังนี้

               1. ธุรกิจการซื้อ คือ การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เช่น ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช เมล็ดพืช และสิ่งของที่จำเป็นมาจำหน่ายแก่สมาชิก โดยจะสำรวจความต้องการของสมาชิกก่อน แล้วสหกรณ์จะเป็นผู้จัดหามาจำหน่ายต่อไป ซึ่งเพราะการรวมซื้อในปริมาณมาก จะทำให้ซื้อได้ในราคาที่ต่ำลง และเมื่อถึงสิ้นปีหากสหกรณ์มีกำไรก็จะเงินจำนวนนี้มาเฉลี่ยคืนแก่สมาชิกด้วย
               2. ธุรกิจขายหรือการรวบรวมผลผลิต ให้แก่สมาชิกทำให้มีอำนาจการต่อรองมากขึ้น ผลผิตจะขายได้ในราคาสูง สมาชิกไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าในเรื่องการชั่ง ตวง วัด หรือถูกกดราคาในการรับซื้อผลผิต
               3. ธุรกิจธนกิจ (สินเชื่อ)
                       (1) การให้เงินกู้ เมื่อเกษตรกรรวมตัวกันเป็นสหกรณ์สามารถสร้างความเชื่อถือให้กับสถาบันการเงิน หน่วยงานของทางราชการและบุคคลทั่วๆ ไป โดยสหกรณ์จะจัดหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำมาให้สมาชิกกู้ไปลงทุนเพื่อการเกษตร ซึ่งสหกรณ์จะพิจารณาจากแผนดำเนินการหรือแผนการใช้เงินกู้ของสมาชิกประกอบการให้เงินกู้ เช่น สหกรณ์อาจให้เงินกู้แก่สมาชิกเพื่อนำไปซื้อวัสดุการเกษตร ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในครอบครัว หรือเพื่อนำไปบุกเบิกปรับปรุงที่ดิน หรือจัดซื้อที่ดินการเกษตร ในกรณีที่สมาชิกไม่มีที่ดินทำกิน หรือมีน้อยไม่เพียงพอต่อการทำการเกษตร
(2) การรับฝากเงิน เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกรู้จักและเห็นคุณค่าประโยชน์ของการออมทรัพย์ และเพื่อเป็นการระดมทุนในสหกรณ์ สหกรณ์จะรับเงินฝากจากสมาชิก 2 ประเภท คือ เงินฝากออมทรัพย์ และเงินฝากประจำ โดยสหกรณ์จะจ่ายดอกเบี้ยในอัตราเดียวกับธนาคารพาณิชย์


























               4. ธุรกิจการส่งเสริมอาชีพและบริการ สหกรณ์อาจจัดให้มีเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ทางด้านการเกษตรคอยให้ความรู้และคำแนะนำทางด้านการเกษตร หรืออาจขอความร่วมมือจากหน่วยราชการอื่น ในการให้คำปรึกษาแนะนำให้สมาชิกมีความรู้ ความเข้าใจในหลักวิชาการแผนใหม่ ตลอดจนการวางแผนการผลิตให้สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและปริมาณตรงกับความต้องการของตลาด นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้กลุ่มแม่บ้านสหกรณ์ทำอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว
               5. การศึกษาอบรม สหกรณ์จะจัดให้มีการศึกษาอบรมแก่สมาชิก คณะกรรมการสหกรณ์ ผู้จัดการ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์อยู่เสมอ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบถึงหลักการ วิธีการสหกรณ์ สิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล

       สหกรณ์ช่วยให้เกษตรกรที่อยู่ในชุมชน หรือสังคมนั้นมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สังคมมีความสุข บุตรหลานสมาชิกได้รับการศึกษาสูงขึ้น มีสุขภาพอนามัยที่ดีเนื่องจากเกษตรกรมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
 หลักเกณฑ์การจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรโดยทั่วไป
1. เกษตรกรมีความเดือดร้อนในการประกอบอาชีพ และต้องการรวมตัวกันจัดตั้งสหกรณ์ เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่างแท้จริง
               2. เป็นบุคคลธรรมดา บรรลุนิติภาวะ มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับและพระราชบัญญัติ
สหกรณ์ พ.ศ. 2542
               3. มีสมาชิกมากพอที่จะดำเนินธุรกิจได้และมีลู่ทางที่จะขยายธุรกิจเมื่อดำเนินการจัดตั้งสหกรณ์ไปแล้ว
               4. สหกรณ์จะต้องดำเนินงานอย่างจริงจัง และดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ เพื่อประโยชน์ของมวลสมาชิก
               5. เกษตรกรที่มีความประสงค์จะจัดตั้งสหกรณ์ ควรมีการออมเงินเพื่อเป็นทุนเบื้องต้นของสหกรณ์ก่อน
 
จะจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรได้อย่างไร?
กรณีที่ 1  ในท้องที่ที่ยังไม่มีสหกรณ์การเกษตรมาก่อน เกษตรกรที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนในการประกอบอาชีพ และมีความประสงค์จะรวมกลุ่มกันเป็นสหกรณ์เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนโดยการช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สามารถที่จะรวมตัวกันจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรได้





 
 
 
 
 
 
 



       กรณีที่ 2 ในท้องที่ที่มีสหกรณ์การเกษตรตั้งอยู่แล้ว เกษตรกรที่มีความสนใจจะสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์การเกษตร จะต้องยื่นใบสมัครที่ประธานกลุ่มสหกรณ์ที่อยู่ใกล้บ้านตนเอง เพื่อนำเสนอที่ประชุมกลุ่มพิจารณา เมื่อที่ประชุมกลุ่มเห็นสมควรรับเข้าเป็นสมาชิก โดยมีคะแนนเสียงรับรองไม่น้อยกว่าสองในสามของผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด ประธานกลุ่มจะเสนอใบสมัครให้คณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง เมื่อคณะกรรมการดำเนินการพิจารณารับเข้าเป็นสมาชิกแล้ว สหกรณ์จะแจ้งให้ผู้สมัครไปชำระค่าหุ้น ค่าธรรมเนียมแรกเข้าและลงรายมือชื่อในทะเบียนสมาชิกภายในระยะเวลาที่กำหนดจึงถือว่าเป็นสมาชิกสหกรณ์ และมีสิทธิในสหกรณ์ในฐานะสมาชิกที่สมบูรณ์

               ปัญหาทางเศรษฐกิจข้างต้น มีผลกระทบต่อสังคมในชุมชน ทำให้คุณภาพชีวิตและฐานะความเป็นอยู่ต่ำกว่าคนประกอบอาชีพอื่น ขาดการศึกษา การอนามัย และขาดความปลอดภัยในทรัพย์สิน

               1. ขาดแคลนเงินทุน เงินทุนที่ใช้ในการประกอบอาชีพมีไม่เพียงพอ ต้องกู้ยืมจากพ่อค้าหรือนายทุนในท้องถิ่น ซึ่งต้องเสียดอกเบี้ยแพง                2. ขาดแคลนที่ดินทำกิน เกษตรกรบางรายมีที่ดินทำกินน้อย บางรายไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง ต้องเช่าที่ดินผู้อื่นทำกิน โดยเสียค่าเช่าแพงและถูกเอารัดเอาเปรียบจากการเช่า                3. ปัญหาในเรื่องการผลิต เกษตรกรขาดความรู้เกี่ยวกับการผลิตสมัยใหม่ที่ถูกต้อง เช่น การใช้ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ทำให้ผลผิตที่ได้รับต่ำไม่คุ้มกับการลงทุน นอกจากนั้นผลผิตที่ได้ไม่มีคุณภาพ และไม่เป็นไปตามความต้องการของตลาด ขาดปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็น เช่น ระบบชลประทาน 

สหกรณ์

สหกรณ์ คือองค์การธุรกิจที่สมาชิกรวมตัวกันจัดตั้งด้วยความสมัครใจ มีระบบการบริหารจัดการที่ยึดมั่นบนหลักการสหกรณ์ เพื่อการบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมร่วมกัน
สหกรณ์ออมทรัพย์ 
คือ องค์การที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหมู่สมาชิก โดยสมาชิกแต่ละคนออมรายได้ฝากไว้กับสหกรณ์เป็นประจำสม่ำเสมอในลักษณะการถือหุ้นและฝากเงิน นอกจากนั้น หากสมาชิกประสบความเดือดร้อนเกี่ยวกับการเงินก็สามารถช่วยเหลือได้โดยการให้กู้ยืม ซึ่งอัตราดอกเบี้ยจะต่ำกว่าสถาบันการเงินอื่น สมาชิกสหกรณ์ทั้งหมดจะเป็นผู้ที่อยู่ในหน่วยงานเดียวกันและมีเงินเดือนประจำด้วย
สหกรณ์ออมทรัพย์มีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายสหกรณ์ และกระทรวงการคลังได้ประกาศให้สหกรณ์ออมทรัพย์คิดดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้เช่นเดียวกับสถาบันการเงิน ตามประกาศกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2526
การดำเนินธุรกิจ สหกรณ์มีทุนดำเนินงานมาจากเงินค่าหุ้น และเงินรับฝากจากสมาชิก ซึ่งมีทั้งเงินฝากประจำและเงินฝากออมทรัพย์โดยไม่มีเงินกู้ยืมจากต่างประเทศ ในปัจจุบันมีสหกรณ์ออมทรัพย์ทั้งสิ้น 1,227 สหกรณ์ (รวมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน) สมาชิก 1,915,281 คน มีเงินออมทั้งระบบ (เงินค่าหุ้นและเงินรับฝาก) 183,405.35 ล้านบาท เงินทุนเหล่านี้ จะนำไปให้กู้ยืมแก่สมาชิกที่เดือดร้อนหรือจำเป็น สินทรัพย์ของสหกรณ์มี 239,953.19 ล้านบาท มากกว่าร้อยละ 63.53 จะเป็นการให้เงินกู้แก่สมาชิก สำหรับการส่งชำระค่าหุ้น และชำระหนี้เงินกู้ สหกรณ์ใช้ระบบการหักเงิน ณ ที่จ่าย ทำให้มีเงินทุนหมุนเวียนไหลเข้า สหกรณ์อย่างสม่ำเสมอทุกเดือน

ด้วยวิธีการดังกล่าว ธุรกิจของสหกรณ์จึงมีความมั่นคงอย่างสูง โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาตัวเลขความมั่นคงของสินทรัพย์ ในปี 2539 สหกรณ์ออมทรัพย์ทั้งระบบมีค่าเผื่อหนี้สูญต่อลูกหนี้สมาชิกกู้ และค่าหนี้สงสัยจะสูญต่อลูกหนี้สมาชิกกู้เพียงร้อยละ 0.021 และ 0.075 ตามลำดับเท่านั้น ซึ่งนับว่าน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับสถาบันการเงินประเภทอื่นๆ (ตัวเลขจากรายงานสรุปผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ ประจำปี 2539, กรมตรวจบัญชีสหกรณ์)


จุดแข็งของสหกรณ์ออมทรัพย์